เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 เวลา 15.00 น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 4/2568 พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ ร่วมการประชุม ณ ชั้น 6 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ได้การประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM
ในการประชุมครั้งนี้ มีระเบียบวาระสำคัญ คือ การพิจารณาแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2569 – 2572 และ แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้มหาวิทยาลัยได้กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารวิทยาลัยในอีก 4 ปีข้างหน้า ให้สอดรับกับเสาหลักและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ เสาหลักที่ 1: ความเป็นเลิศทางวิชาการและนวัตกรรม (Academic Excellence and Innovation) เสาหลักที่ 2: การบูรณาการหลักการ ESG กับการพัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart Campus and ESG Integration) เสาหลักที่ 3: การใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเหมาะสมเพื่อการเติบโตและมีความยั่งยืน (Optimization of University Resources for Growth and Sustainability) เสาหลักที่ 4: การมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชนผ่านวัฒนธรรม (Societal Contribution via Cultural Involvement and Community Integration)
โดยแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2569 – 2572 มี 11 ยุทธศาสตร์ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยใน 4 ปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2569 – 2572 เพื่อให้มหาวิทยาลัยยังคงมีความก้าวหน้าและการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนในท่ามกลางวิกฤติอุดมศึกษาไทยที่เกิดจากเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive technologies) และอัตราการเกิดที่ลดลงของเด็กไทย สรุปได้ ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนเสาหลักการบริหารมหาวิทยาลัย จากเดิม 3 ด้าน เปลี่ยนเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านความเป็นเลิศทางวิชาการและนวัตกรรม (Academic Excellence and Innovation) 2) ด้านการบูรณาการหลักการ ESG กับการพัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart Campus and ESG Integration) 3) การใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเหมาะสมเพื่อการเติบโตและมีความยั่งยืน (Optimization of University Resources for Growth and Sustainability) 4) การมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชนผ่านวัฒนธรรม (Societal Contribution via Cultural Involvement and Community Integration)
- จัดลำดับยุทธศาสตร์ใหม่ รวมถึงเพิ่มกลยุทธ์ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับเสาหลักการบริหารมหาวิทยาลัยทั้ง 4 ด้าน และรองรับประเด็นการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนทางด้านการศึกษา (Education Transform) โดยมุ่งสู่การยกระดับการเรียนรู้ของนักศึกษา และความพร้อมสำหรับอนาคตผ่านการบูรณาการด้วยเทคโนโลยี AI (Enhance Student Learning and Future-Readiness through GenAI Integration)
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับเปลี่ยนการทำงานวิจัย (Research Transformation) เพิ่มความเข้มข้นของการทำงานวิจัยเป็นทีม (Research program) เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ใหญ่ที่มีผลกระทบ (Impact) สูง และมุ่งเป้าหมายการทำวิจัยให้ไกลกว่าการตีพิมพ์ สู่การนำไปใช้จริงเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่หรือนวัตกรรม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย (International network)
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 ปรับเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) เน้นสร้างความรู้ด้าน AI ให้กับบุคลากร และเพิ่มขีดความสามารถเพื่อพัฒนาวิธีการสอน และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ (Build Staff GenAI Literacy and Capacity for Effective Pedagogy and Workflow Enhancement)
- ยุทธศาสตร์ที่ 7 ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กร (Management Transformation) กำหนดกลยุทธ์ 3 ข้อ คือ (1) วางระบบบริหารจัดการแนวใหม่ (Reimagine work process) มุ่งสู่การเป็น High performing organization (2) บริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความยั่งยืน (Efficiently asset management) (3) โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects)
- ยุทธศาสตร์ 10 การบริการวิชาการเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม (Societal Contribution) ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
- ยุทธศาสตร์ 11 เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนา (Collaboration & Coordination for Development) เพิ่มความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนและสังคม (Sustainable Development Goals : SDGs) อย่างเป็นรูปธรรมให้มากขึ้นและประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม (SROI)
